บทความทั้งหมด    บทความสร้างอาชีพ    ความรู้ค้าขาย    ความรู้สร้างอาชีพ
6.2K
2 นาที
24 พฤษภาคม 2562
เปิดสูตรคิดต้นทุน “ร้านน้ำแข็งไส” ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง!


บางคนคิดว่า “ขายน้ำแข็งไส” จะเอากำไรจากที่ไหน ขายถ้วยละ 10 บาท 15 บาท ไหนจะน้ำแข็งที่ต้องละลายกลายเป็นต้นทุนไปเรื่อยๆ สู้ไปขายกาแฟ ชานม ชาไข่มุก ยังจะมีกำไรมากกว่า แต่จนแล้วจนรอดเราก็ยังเห็นพ่อค้าแม่ค้าที่ขายน้ำแข็งไส จึงเชื่อได้ว่า “ธุรกิจนี้ต้องมีกำไรในตัวพอสมควร”


ภาพจาก bit.ly/30FaLMB

และด้วยคำว่า “น้ำแข็งไส” ที่เหมือนเมนูคู่เมืองไทย ราดน้ำแดง น้ำเขียว ใส่ท็อปปิ้งเป็นเฉาก๋วย ลูกชิพ กินได้เพลินๆ ในราคาเบาๆ ยิ่งมีทำเลดีๆ โดยเฉพาะหน้าโรงเรียน โรงงาน ตามหมู่บ้าน เผลอๆรายได้ต่อวันดีกว่าพวกทำงานประจำด้วยซ้ำไป และเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าธุรกิจน้ำแข็งไสก็มีความน่าสนใจ

www.ThaiFranchiseCenter.com จัดเอาวิธีคิดต้นทุนมาแจกแจงให้เห็นภาพแล้วจะรู้ว่าร้านน้ำแข็งไสหากบริหารจัดการดีๆ กำไรดีไม่เบาทีเดียว
 
ต้นทุนของร้านน้ำแข็งไส (ขนาดเล็ก)


ภาพจาก bit.ly/2VKVO8f

ข้อดีของร้านน้ำแข็งไสคือ เริ่มต้นได้ง่าย อุปกรณ์ไม่มาก ถ้ายังไม่มีทำเลที่ไหน ถ้ามีหน้าบ้านในแหล่งชุมชนก็เริ่มต้นได้เลย ยอดขายอาจจะไม่มากเท่าในตลาดหรือหน้าโรงเรียน โรงงาน แต่หากเปิดใหม่และเป็นการฝึกฝีมือการขายการเริ่มต้นจากหน้าบ้านตัวเองก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยสะสมเงินทุนมากขึ้นแล้วจะขยายไปทำเลอื่นก็ยังได้
 
ต้นทุนโดยเฉลี่ยของร้านน้ำแข็งไสขนาดเล็กประมาณ 3,020 บาท เป็นค่าอุปกรณ์ที่สำคัญและวัตถดิบต่างๆ เช่น
 
น้ำหวาน (เฮลบลูบอย) 4 รส = 172 บาท (คิดราคาขวดละ 43 บาท)

น้ำหวาน / นม / น้ำเชื่อม = 150 บาท

ช้อนพลาสติก = 25 บาท

หลอดสั้น = 85 บาท

กระติกน้ำ = 400 บาท

ตะกร้าใส่หลอด / ช้อนพลาสติก  = 40 บาท

น้ำแข็ง = 50 บาท

ถ้วยโฟม = 70 บาท

โหลพลาสติก = 140 บาท (ใช้ประมาณ 7 อันอันละ 20 บาท)

ช้อนตักเครื่อง = 70 บาท (ใช้ประมาณ 7 อันอันละ 10 บาท)

ทัพพีตักน้ำแข็ง = 20 บาท

เครื่องต่างๆ =  210 บาท

น้ำเชื่อมแบบกระป๋อง = 100 บาท

นมข้นหวาน = 98 บาท

เครื่องบดน้ำแข็ง = 1,390 บาท
 
การคิดราคาขายแบบใส่เครื่อง 2 อย่าง


ภาพจาก bit.ly/30CSQq9
 
ปกติร้านน้ำแข็งไสจะให้เลือกเครื่องได้ 2 อย่าง 10 บาท หรือถ้าเลือก 3 อย่างราคา 15 บาท ราคาที่กล่าวนี้ก็ไม่ได้กำหนดตายตัวเพียงแต่เป็นตัวเลขประมาณการ ซึ่งบางร้านอาจจะตั้งราคาขายมากกว่านี้ ซึ่งโดยปกติ การคิดราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณเครื่องที่ใส่
 
ซึ่งเจ้าของร้านก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบเหล่านี้เพราะจะว่ากันตามตรง กำไรหรือไม่กำไรก็มาจาก “เครื่องท็อปปิ้ง” ที่ใส่เป็นสำคัญ โดยราคาต้นทุนเบื้องต้น คิดแบบ ใส่เครื่อง 2 อย่าง(เฉาก๊วย+ลูกชิด) ต้นทุนคือ
 
เฉาก๊วย =  1 บาท

ลูกชิด = 1.5 บาท

ถ้วยโฟม = 0.7 บาท

น้ำแข็ง = 1.5 บาท

น้ำหวานหรือน้ำเชื่อม = 1.5 บาท

นมข้นหวาน = 0.5 บาท

ช้อน+ หลอด = 0.5 บาท

รวมต้นทุนวัตถุดิบต่อถ้วย = 7.2 บาท (ไม่รวมค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ)


ภาพจาก bit.ly/2HQDF3Q
 
ถ้าขาย 10 บาท กำไรต่อถ้วย 10 – 7.2 บาท = 2.8 บาท มองดูว่ากำไรที่ได้มานี้อาจจะไม่เยอะแล้วทำไมร้านน้ำแข็งไสเขายังอยู่ได้ ก็เพราะเทคนิคในการลดต้นทุนที่ต้องเอามาใช้ ซึ่งก็หมายถึงการทำน้ำเชื่อมเองแทนการซื้อ หรือการทำท็อปปิ้งต่างๆ ขึ้นมาเอง เช่นสัปปะรด แห้ว เผือก มัน เฉาก๊วย ซื้อมาทีละมากๆ แล้วก็ทำสำเร็จเก็บเอาไว้ ดีกว่าไปซื้อแยกจากตลาดเอามาขาย จะช่วยทำให้ต้นทุนลดลง กำไรที่ได้ก็จะมากขึ้น
 
ยังไม่รวมการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วยสารพัดวิธีการตลาดเช่นการลองเปลี่ยนแพคเกจที่อาจจะไม่ใช่ถ้วยโฟม แม้ต้นทุนแพคเกจจะสูงขึ้น แต่ราคาขายก็ตั้งสูงกว่า 10 บาทได้ อาจจะถึง 20-25 บาท ยังไม่รวมการตกแต่งหน้าร้าน การหาทำเลที่เหมาะสม เหล่านี้คือเพิ่มลดต้นทุน เพิ่มปริมาณการขาย จะได้มีกำไรมากขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2EsIm36
 
*** สูตรการคิดคำนวณราคาขายดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
 
ถามว่าร้านสเต๊ก “ยังน่าสนใจไหม?” คำตอบคือ “ยังน่าสนใจ” เหตุผลคือ สเต๊กเป็นเมนูเฉพาะที่คนทำยังไม่มากเมื่อเทียบกับอาหารตามสั่ง ส้มตำ  ลูกชิ้นปิ้ง ลูกชิ้นทอด สิ่งสำคัญคือ “รสชาติ” ถ้าอร่อยถูกปากถูกใจยังไงก็ขายดี แต่ส่วนใหญ่สเต๊กริมทางมักเป็นเนื้อหมู เน..
61months ago   4,792  4 นาที
เมื่อพูดถึง “ร้านเบเกอรี่” หลายคนก็จะนึกเหมารวมไปกับ “คอฟฟี่ช็อป” ที่จะมีเมนูเบเกอรี่ไว้คอยบริการ แม้แต่ในภาพรวมทางเศรษฐกิจก็ยังจัดเอาร้านเบเกอรี่ไปรวมอยู่กับ “ธุรกิจกาแฟ” และคาดการณ์ตัวเลขแบบเหมารวมกันไป ทั้งที่ในความจริง “ร้านเบเกอรี่”ที่เป..
61months ago   4,993  4 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความสร้างอาชีพมาใหม่
บทความอื่นในหมวด