บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
971
1 นาที
29 พฤษภาคม 2566
4 เหตุผล แฟรนไชส์มือใหม่ต้องทำ Operation Manual
 

คู่มือปฏิบัติงาน หรือ Operation Manual มีความสำคัญอย่างไรในธุรกิจแฟรนไชส์ ทำไมเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์มือใหม่ต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน หรือที่เราเรียกกันว่า “คู่มือแฟรนไชส์” ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารก็แล้วกัน มาดูกันว่าเหตุผลหลักๆ ที่ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารจำเป็นต้องทำคู่มือแฟรนไชส์ คืออะไร  
 
1. ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
 

คู่มือการปฏิบัติงานจะช่วยให้อาหารและเครื่องดื่มเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นรายการเมนูอาหารแต่ละสาขามีอะไรบ้าง รสชาติแบบไหน รูปแบบการจัดวางในจานเสิร์ฟ ความสะอาดในครัว โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องเขียนให้ครอบคลุมในเรื่องการจัดซื้อ และคัดเลือกใช้สินค้าวัตถุดิบมีอะไรบ้าง และอัตราส่วนในการทำอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ทํามีอะไรบ้าง ขั้นตอนการจัดเตรียมวัตถุดิบ เครื่องปรุงต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการปรุงอาหารแต่ละเมนู เป็นต้น
 
2. รูปแบบการบริการลูกค้า
 

คู่มือปฏิบัติงานช่วยให้ลูกค้าได้รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาการต้องเขียนให้ครอบคลุมในเรื่องวิธีและรูปแบบการต้อนรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน เทคนิคการขายหรือแนะนำอาหารให้แก่ลูกค้า วิธีการเสิร์ฟอาหาร เก็บจาน เก็บโต๊ะ เก้าอี้ การใช้เครื่อง POS และการจัดทำโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า การชำระเงิน เป็นต้น
 
3. การใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์
 

คู่มือปฏิบัติงานช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานและใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในร้านได้อย่างถูกต้อง ลดต้นทุนการบริหารจัดการ และความเสียหายให้กับอุปกรณ์ในร้าน ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องบอกวิธีและขั้นตอนการใช้เครื่องรูดบัตรจ่ายเงิน วิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในครัวทำอาหาร วิธีการเก็บอุปกรณ์และทําความสะอาด ตลอดจนขั้นตอนการซ่อมบํารุงรักษาอุปกรณ์ในครัว เพื่อความเป็นมาตรฐานและความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า
 
4. การแก้ปัญหาที่เกิดในร้าน
 

คู่มือปฏิบัติงานช่วยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในร้าน และป้องกันการเปิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของพนักงานส่วนต่างๆ เจ้าของแฟรนไชส์จำเป็นต้องบอกวิธีปฏิบัติและแก้ปัญหาอุปกรณ์ต่างๆ เสียหาย ไม่ทำงาน หรือถ้าฝนตกไฟฟ้าดับต้องทำอย่างไร ปิดร้านเลยมั้ย หรือเปิดต่อ ถ้ามีอุปกรณ์ทดแทนให้แสงสว่างจะวางไว้ตรงไหนของร้าน รวมถึงวิธีการรับมือเมื่อมีการร้องเรียนจากลูกค้า พนักงานควรจะพูดจากับลูกค้าแบบไหน ตอบคำถามลูกค้าอย่างไร ตลอดจนวิธีการปฏิบัติเมื่อลูกค้าสั่งอาหารแล้วเกิดสินค้าหมด จะมีวิธีสื่อสารกับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้านอย่างไร 
 
สรุปก็คือ เหตุผลที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำคู่มือการปฏิบัติงาน หรือ Operation Manual ก็คือ ความเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา เนื้อหาที่จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้หัวหน้าและพนักงานทำงานในหน้าที่ทิศทางและรูปแบบเดียวกันทุกสาขา เวลาลูกค้าไปกินสาขาไหนต้องมีเมนูและรสชาติเหมือนกันทุกสาขา ตลอดจนการให้บริการของพนักงานในร้านด้วย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
5,036
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
743
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
472
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
449
กรมทรัพย์สินฯ ไขกระจ่าง! ข้อควรรู้คุ้มครองสิทธิก..
447
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
446
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด